วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559
ใบงานที่ 5 บทความสารคดีที่นำมาใช้สำหรับการเขียนโครงร่าง
โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay
อย่างง่ายและรวดเร็ว
ไม่ใช่เรื่องง่าย! สำหรับการเขียน Essay หรือการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษในฐานะนักเรียนไทยแม้แต่นักเรียนต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ คงส่ายหน้าปวดหัวอยู่เหมือนกัน เพราะการเขียน Essay ให้ถูกต้อง ตรงประเด็น และทำให้คนอ่านเข้าใจในบริบทที่เราต้องการสื่อสารนั้นไม่ใช่เรื่องหมูๆ จึงจำเป็นต้องใช้การสั่งสมด้วยการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ และฝึกฝนการเขียนของเราให้สม่ำเสมอ วันนี้ Life on Campus จึงนำเทคนิคการเขียนเรียงความเพื่อเป็นเคล็ดลับดีๆ ให้กับน้องๆ ที่ต้องการฝึกฝนงานเขียนให้ถูกใจกรรมการโกยคะแนนการเขียนได้สบายๆ..
โครงสร้างของการเขียน Essay ประกอบด้วย 3 ส่วน
Introduction : ย่อหน้าแรกของ Essay ที่ใช้ในการเปิดเรื่อง หรือเป็นส่วนแรกของเรียงความที่จะบอกให้ผู้อ่านทราบเบื้องต้นว่าเรียงความนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร มักจะไม่ใส่รายละเอียดมากนัก Introduction ที่ดีควรจะดึงดูดใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจและทำให้เกิดความรู้สึกอยากรู้ว่าเนื้อหาต่อไปนั้นจะเป็นยังไง เรียกง่ายๆ ว่าทำให้ผู้อ่านอยากอ่าน Essay ของเราจนจบ สำหรับภายใน Introduction จะมี Thesis Statement ซึ่งเป็นประโยคสำคัญที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่า Essay เรื่องนี้ต้องการจะกล่าวถึงอะไร
Body : ส่วนของเนื้อความ เป็นส่วนที่รวมเนื้อหา ใจความสำคัญของเรียงความไว้ โดยจะเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของเรียงความ โดยตัวเนื้อความสามารถเขียนได้หลายย่อหน้า ขึ้นอยู่กับข้อมูลเพิ่มเติมที่เราต้องการขยายความหรือยกตัวอย่างให้ผู้อ่านเข้าใจ
Conclusion : บทสรุป เป็นการทบทวนและย้ำให้ผู้อ่านทราบว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไรให้ผู้อ่าน หรือเป็นการสรุปสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดให้ผู้อ่านทราบ โดยเนื้อหาเน้นรวบรวมใจความสำคัญจาก Introduction และ Body ที่ได้กล่าวมาแล้ว
สำหรับส่วนของเนื้อความหรือ Body จะมีหน้าที่หลักๆ คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้อ่าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือคล้อยตามกับเรียงความของเรามากขึ้น โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนย่อยคือ Topic Sentence, Supporting sentences และ Concluding sentences
- Topic Sentence อยู่ส่วนแรกของของแต่ละ Body ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่าเนื้อความย่อหน้านี้จะกล่าวถึงคือเรื่องอะไร
- Supporting sentences ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือขยายความจาก Topic sentence รวมถึงการยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น
- Concluding sentences เป็นการสรุปย้ำใจความสำคัญของย่อหน้าให้ผู้อ่านทราบอีกครั้ง
สำหรับเทคนิคง่ายๆ ในการเขียน Topic sentence ที่ดีคือ ควรจะเขียนให้เป็น Simple sentence หรือประโยคความเดียว เพราะจะช่วยให้ประโยคมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังในการเขียน Essay ที่ Life on Campus นำมาให้น้องๆ ได้อ่านกันเป็นข้อมูลในการเขียนเพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดทำให้เราโดนหักคะแนนได้ง่ายๆ นั้นเอง..
- Topic Sentence อยู่ส่วนแรกของของแต่ละ Body ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่าเนื้อความย่อหน้านี้จะกล่าวถึงคือเรื่องอะไร
- Supporting sentences ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือขยายความจาก Topic sentence รวมถึงการยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น
- Concluding sentences เป็นการสรุปย้ำใจความสำคัญของย่อหน้าให้ผู้อ่านทราบอีกครั้ง
สำหรับเทคนิคง่ายๆ ในการเขียน Topic sentence ที่ดีคือ ควรจะเขียนให้เป็น Simple sentence หรือประโยคความเดียว เพราะจะช่วยให้ประโยคมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังในการเขียน Essay ที่ Life on Campus นำมาให้น้องๆ ได้อ่านกันเป็นข้อมูลในการเขียนเพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดทำให้เราโดนหักคะแนนได้ง่ายๆ นั้นเอง..
เขียนบทนำให้ดึงดูด อย่าสรุปทั้งหมดไว้ตั้งแต่เริ่ม!
ในการอ่าน Essay คณะกรรมการมักจะใช้เวลาเพียงแค่ 1-2 นาทีเท่านั้น ดังนั้นบทนำของที่น้องๆ เขียนควรจะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้น และไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะแก้บทนำใหม่หมดภายหลังจากที่เราเริ่มเขียนเนื้อหาของ Essay ที่สำคัญคืออย่าเขียนสรุปเนื้อหาทั้งหมดในบทนำ เพราะเท่ากับเป็นการเฉลยเนื้อหาไว้ตั้งแต่เริ่ม ทำให้ผู้อ่านไม่อยากอ่านเนื้อหาต่อๆ ไป หรือไม่มีความอยากรู้ที่จะติดตามตอนต่อไปนั้นเอง
รวมไปถึงคณะกรรมการเองก็เช่นกัน หากการเขียนบทนำของน้องๆ คือการสรุปทั้งหมด คณะกรรมการก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องอ่านเนื้อเรื่องที่เหลือของ Essay จึงควรสร้างความแปลกใจหรือสร้างความรู้สึกอยากติดตามชวนให้อ่านไว้ในบทนำ ด้วยการตั้งคำถามหรือประเด็นให้คณะกรรมการหรือผู้อ่านสนใจอ่าน Essay ของเราต่อไป รวมถึงทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารด้วย
ในการอ่าน Essay คณะกรรมการมักจะใช้เวลาเพียงแค่ 1-2 นาทีเท่านั้น ดังนั้นบทนำของที่น้องๆ เขียนควรจะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้น และไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะแก้บทนำใหม่หมดภายหลังจากที่เราเริ่มเขียนเนื้อหาของ Essay ที่สำคัญคืออย่าเขียนสรุปเนื้อหาทั้งหมดในบทนำ เพราะเท่ากับเป็นการเฉลยเนื้อหาไว้ตั้งแต่เริ่ม ทำให้ผู้อ่านไม่อยากอ่านเนื้อหาต่อๆ ไป หรือไม่มีความอยากรู้ที่จะติดตามตอนต่อไปนั้นเอง
รวมไปถึงคณะกรรมการเองก็เช่นกัน หากการเขียนบทนำของน้องๆ คือการสรุปทั้งหมด คณะกรรมการก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องอ่านเนื้อเรื่องที่เหลือของ Essay จึงควรสร้างความแปลกใจหรือสร้างความรู้สึกอยากติดตามชวนให้อ่านไว้ในบทนำ ด้วยการตั้งคำถามหรือประเด็นให้คณะกรรมการหรือผู้อ่านสนใจอ่าน Essay ของเราต่อไป รวมถึงทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารด้วย
เช็คหลักไวยากรณ์ให้ดีก่อนส่ง!
เชื่อเถอะว่าชาวเอเชียส่วนใหญ่หรือแม้กระทั่งเด็กไทยมีความแม่นในการจำหลักไวยากรณ์อยู่แล้ว เรียกว่าโครงสร้างเป๊ะ ถาม Tenses ไหนตอบได้หมด หรืออาจเก่งแกรมม่ามากกว่าเจ้าของภาษาเสียอีก ดังนั้นการทำข้อสอบการเขียนสิ่งสำคัญหลักๆ คือการเขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์ ผู้เขียนคนใดสามารถจดจำโครงสร้างและเข้าใจการใช้ได้ถูกต้องย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง
Life on Campus จึงมีเทคนิคการตรวจสอบแกรมม่าที่เราเขียนใน Essay เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด นั้นคือการอ่านย้อนหลังจากประโยคสุดท้ายไล่ขึ้นไปถึงประโยคแรก เพื่อให้เราได้ตรวจสอบให้ดีทีละส่วน ทีละคำ ทีละประโยค เพื่อหาจุดผิดพลาดนั้นเอง เพราะผู้เขียนส่วนใหญ่หากอ่านประโยคแรกไล่ลงมาปกติแล้วมักคิดว่างานเขียนของเรายอดเยี่ยม แต่หากลองปรับ
เชื่อเถอะว่าชาวเอเชียส่วนใหญ่หรือแม้กระทั่งเด็กไทยมีความแม่นในการจำหลักไวยากรณ์อยู่แล้ว เรียกว่าโครงสร้างเป๊ะ ถาม Tenses ไหนตอบได้หมด หรืออาจเก่งแกรมม่ามากกว่าเจ้าของภาษาเสียอีก ดังนั้นการทำข้อสอบการเขียนสิ่งสำคัญหลักๆ คือการเขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์ ผู้เขียนคนใดสามารถจดจำโครงสร้างและเข้าใจการใช้ได้ถูกต้องย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง
Life on Campus จึงมีเทคนิคการตรวจสอบแกรมม่าที่เราเขียนใน Essay เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด นั้นคือการอ่านย้อนหลังจากประโยคสุดท้ายไล่ขึ้นไปถึงประโยคแรก เพื่อให้เราได้ตรวจสอบให้ดีทีละส่วน ทีละคำ ทีละประโยค เพื่อหาจุดผิดพลาดนั้นเอง เพราะผู้เขียนส่วนใหญ่หากอ่านประโยคแรกไล่ลงมาปกติแล้วมักคิดว่างานเขียนของเรายอดเยี่ยม แต่หากลองปรับ
ใช้ศัพท์ยาก..ไม่เข้ากับเนื้อหา
สำหรับใครที่ชอบใช้งัดคำศัพท์ยากๆ งัดคำศัพท์สวยๆ อลังการมาใช้ในงานเขียน เพราะคิดว่ายิ่งใช้คำศัพท์ยากยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเก่งและรู้สึกเหนือกว่าคนอื่นๆ แต่น้องๆ รู้หรือไม่ว่าการใช้คำศัพท์เหล่านั้นในการเขียนเรียงความ หรือใช้ในการเขียนโปรยบทนำให้ดูสวยหรู มันไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบเสมอไป เพราะหากน้องๆ ไม่มั่นใจว่าความหมายคืออะไร หรือไม่มั่นใจว่าจะเรียบเรียงอย่างไรในการเขียนประโยค อาจทำให้เนื้อหาที่จะสื่อสารกับผู้อ่านนั้นผิดเพี้ยนและอาจทำให้โดนหักคะแนนได้
สำหรับเทคนิคการฝึกเขียน น้องๆ สามารถหัดเขียนด้วยตัวเองด้วยการตั้งหัวข้อที่อยากเขียนขึ้นมาสักหนึ่งหัวข้อ หรืออาจให้อาจารย์ที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยมอบหัวข้อให้ลองฝึกเขียน เมื่อน้องๆ ลองเขียน Essay เสร็จนำไปให้อาจารย์ตรวจงานเขียนดู เพื่อจะได้คำแนะนำในการเขียน หรือหากพบจุดผิดพลาดใดๆ อาจารย์ก็สามารถช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับเราได้ ถือเป็นการเพิ่มทักษะการเขียนของเราไปในตัวด้วย
ลืมใส่แหล่งที่มา-แหล่งอ้างอิง
ความจริงแล้วการเขียนเรียงความทางวิชาการไม่เหมือนกับการเขียนบล็อกหรือโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ค หากน้องๆ อ้างอิงถึงแต่สิ่งที่เพื่อนพูด หรือเขียนคำคมขึ้นมาลอยๆ อาจลดคุณค่าและความน่าเชื่อถือของเรียงความที่เขียนไปเลยก็ว่าได้ ยิ่งไปกว่านั้นการคัดลอกผลงานโดยไม่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
ดังนั้นน้องๆ ต้องเรียนรู้ถึงวิธีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้อง เป็นทักษะที่ต้องมีและต้องทำ ซึ่งสามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษ เรียนรู้จากเพื่อนร่วมชั้น หรือไม่ก็อ่านเรียงความทางวิชาการเยอะๆ ก็สามารถช่วยเพิ่มพูนทักษะนี้ได้เช่นกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก
- http://www.usnews.com/education/
- http://www.ieltsbuddy.com/ielts-essay.html
- http://grammar.yourdictionary.com/writing/how-to-write-an-essay.html
- http://www.torcheducation.com/?p=1567
- http://www.englishparks.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=146:-essay&catid=19:english-tip&Itemid=51
ความจริงแล้วการเขียนเรียงความทางวิชาการไม่เหมือนกับการเขียนบล็อกหรือโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ค หากน้องๆ อ้างอิงถึงแต่สิ่งที่เพื่อนพูด หรือเขียนคำคมขึ้นมาลอยๆ อาจลดคุณค่าและความน่าเชื่อถือของเรียงความที่เขียนไปเลยก็ว่าได้ ยิ่งไปกว่านั้นการคัดลอกผลงานโดยไม่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
ดังนั้นน้องๆ ต้องเรียนรู้ถึงวิธีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้อง เป็นทักษะที่ต้องมีและต้องทำ ซึ่งสามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษ เรียนรู้จากเพื่อนร่วมชั้น หรือไม่ก็อ่านเรียงความทางวิชาการเยอะๆ ก็สามารถช่วยเพิ่มพูนทักษะนี้ได้เช่นกัน
Easy & Fun English Learning : How to Write a Good Essay & Tips เทคนิคการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ
จาก https://www.youtube.com/watch?v=wtA4G6eGbqU
อ้างอิงข้อมูลจาก
- http://www.usnews.com/education/
- http://www.ieltsbuddy.com/ielts-essay.html
- http://grammar.yourdictionary.com/writing/how-to-write-an-essay.html
- http://www.torcheducation.com/?p=1567
- http://www.englishparks.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=146:-essay&catid=19:english-tip&Itemid=51
วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ใบงานที่4 คลังข้อสอบ

เด็ก60 ทำอะไรกันอยู่ ?
ตารางสอบสำหรับ #Dek60
ปี 2559
พ.ค. 59 - เปิดภาคเรียนที่ 1
ก.ค. 59 - สอบกลางภาคที่ 1
ก.ย. 59 - สอบปลายภาคที่ 1, สมัครสอบ GAT PAT (รอบที่ 1)
ต.ค. 59 - สอบ GAT PAT (รอบที่ 1), สมัครสอบ 9 วิชาสามัญ
ธ.ค. 59 - สอบ 9 วิชาสามัญ
ปี 2560
ม.ค. 60 - สอบกลางภาคที่ 2, สมัครสอบ GAT PAT (รอบที่ 2), ประกาศผลสอบ GAT PAT (รอบที่ 1)
ก.พ. 60 - สอบ O-Net, ประกาศคะแนน 9 วิชาสามัญ
มี.ค. 60 - สอบ GAT PAT (รอบที่ 2), ประกาศคะแนน O-Net
เม.ย. 60 - ประกาศผลสอบ GAT PAT (รอบที่ 2)
พ.ค. 60 - ยื่นคะแนน Admission
มิ.ย. 60 - ประกาศผล Admission, สอบสัมภาษ์
สำหรับน้องๆเด็กแอด #dek60 (ขึ้น ม.6) และ #dek61(ขึ้น ม.5)
ที่กำลังเตรียมตัวเพื่อเอนท์เข้ามหาวิทยาลัย...
ไม่ว่าจะด้วย โควต้า รับตรง หรือ แอดมิชชั่น
พอน้องๆขึ้น ม.6 นอกจาก สอบกลางภาค ปลายภาค แล้ว เรายังต้องสอบข้อสอบเหล่านี้ด้วยนะ
- GAT PAT
- 9 วิชาสามัญ
- O-NET
- สอบตรง (สำหรับบางคณะที่เปิดสอบตรง เช่น แฟชั่น, สถาปัตย์ ฯลฯ)
" ว่าแต่.... GAT PAT คืออะไร? "
GAT คือ ความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) เป็นการวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัย
ให้น้องๆประสบความสำเร็จ แบ่งเป็น
GAT เชื่อมโยง
ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
GAT ภาษาอังกฤษ
ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
- Speaking & Conversation
- Vocabulary
- Structure & Writing
- Reading
PAT คือ ความถนัดในแต่ละวิชา (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา
PAT 1 คณิตศาสตร์
PAT 2 วิทยาศาสตร์
PAT 3 วิศวะ
PAT 4 สถาปัตย์
PAT 5 ครู
PAT 6 ศิลปกรรม
PAT 7 ภาษา ( ตัวเลือก : ฝรั่งเศส / เยอรมัน / ญี่ปุ่น / จีน / อาหรับ / บาลี )
" แล้ว... O-NET คืออะไร? "
O-Net ย่อมาจากภาษาอังกฤษ Ordinary National Education Test คือ การทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติขั้นพื้นฐาน เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความรู้และความคิดนักเรียนใน ชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6
ข้อสอบมีทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ
1. สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม
2. ภาษาไทย
3. คณิตศาสตร์
4. อังกฤษ
5. วิทยาศาตร์
1. สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม
2. ภาษาไทย
3. คณิตศาสตร์
4. อังกฤษ
5. วิทยาศาตร์
สำหรับน้องๆ ที่อยากเข้าคณะสถาปัตย์ หรือ ออกแบบ พี่เอาสัดส่วนการยื่นคะแนนมาให้ดูด้วยนะ
PAT 4 สถาปัตย์
GPAX 20% O-NET 30% GAT 10% PAT4 40%
PAT 6 ศิลปกรรม (ศิลปกรรม, วิจิตรศิลป์, ดุริยางค์ศิลป์, คณะออกแบบ...)
GPAX 20% O-NET 30% GAT 10% PAT4/6 (*เลือก 1 วิชา) 40%
เห็นมั้ยว่า นอกจากความถนัดทางสถาปัตย์หรือการวาดรูป ออกแบบ
เรายังต้องให้ความสำคัญกับวิชาสามัญอื่นๆด้วยนะ !
ตัวอย่าง คลังข้อสอบต่างๆ
ข้อสอบ Entrance 2543 - 2548
เหมาะสำหรับเตรียมสอบรับตรง โควตาต่างๆ ที่คณะ มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง และเป็นแนวข้อสอบสำหรับเตรียมสอบ 7 วิชาสามัญ
ข้อสอบ ONET 2548 - 2553
ติวมาม่า วิทย์ O-NET ครูติ่ง กรกฤช ครั้งที่ 17 ตอนที่ 1
ในบรรดาข้อสอบทั้งหมด จัดได้ว่าเป็นข้อสอบที่ง่ายที่สุด!!! เหมาะสำหรับเตรียมสอบรับตรง โควตาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยในกลุ่ม ม.ราชภัฎ ม.เทคโนโลยีราชมงคล ม.เอกชน และเป็นแนวข้อสอบสำหรับเตรียมสอบ ONET
ข้อสอบ GAT/PAT
ติวเข้ม PAT 2 ไฟฟ้าเคมี
GAT Fundamental by Aj KLUI
สอนแกทไทยขั้นพื้นฐานโดย อ.ขลุ่ย(ตอนเดียวจบ)
รวมข้อสอบ GAT เชื่อมโยง พร้อมเฉลย โดย AJ KLUI
- ข้อสอบจริง GAT เชื่อมโยง 14 ครั้ง (มี.ค. 52 – มี.ค. 54) + เฉลย คลิกที่นี่
- ข้อสอบจริง GAT เชื่อมโยง ต.ค. 54 - มี.ค. 56 คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่
- ข้อสอบจริง GAT เชื่อมโยง เม.ย. 57 + เฉลย คลิกที่นี่
- วิธีคิดคะแนน GAT เชื่อมโยง โดย Aj KLUI คลิกที่นี่
- เรียนรู้เทคนิคการทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง และฝึกทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง พร้อมเฉลย กับ อ.ขลุ่ย ได้ที่ Facebook : Aj KLUI คลิกที่นี่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)